การสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน

การสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ส.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 ส.ค. 2566

| 1,189 view

การสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน

การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจาก คู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยผู้ขอจดทะเบียนสมรสจะต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน
1. คำร้องขอนิติกรณ์ (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)
2. บันทึกการสอบสวน (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)
3. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง)
4. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง
5. ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ
6. หนังสือเดินทางตัวจริง
7. ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)
8. หากเคยแต่งงานมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า (กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง)
9. รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
หมายเหตุ

  1. การจดทะเบียนสมรสไม่มีค่าธรรมเนียม
    2. ตามกฎหมายใหม่ เมื่อสมรสแล้ว ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ ดังนี้
    • คงใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย
    • ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลตามฝ่ายชาย
    • ฝ่ายชายใช้นามสกุลตามฝ่ายหญิง
    • ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลฝ่ายชาย ฝ่ายชายใช้นามสกุลฝ่ายหญิง

* ใบรับรองความเป็นโสด สามารถยื่นขอได้ที่อำเภอ และสำนักบริหารการทะเบียน (นางเลิ้ง)