ขอทำหนังสือเดินทางใหม่

ขอทำหนังสือเดินทางใหม่

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ส.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 ส.ค. 2566

| 1,296 view

ขอทำหนังสือเดินทางใหม่
ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางแก่บุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น

แนวทางการพิจารณาได้สัญชาติไทย
กรณีบุคคลเกิดนอกราชอาณาจักร

สัญชาติบิดา

สัญชาติมารดา

สถานภาพการสมรส

สัญชาติบุตร

ไทย

ไทย

จด

ไทย

ไทย

ไทย

ไม่จด

ไทย

ไทย

อื่น ๆ

จด

ไทย

ไทย

อื่น ๆ

ไม่จด

ไม่ได้สัญชาติไทย

อื่น ๆ

ไทย

จด

ไทย

อื่น ๆ

ไทย

ไม่จด

ไทย

ค่าธรรมเนียม
๑. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน  ปี (๓๕๐ หยวน)  
๒. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน ๑๐ ปี (๕๐๐ หยวน)
๓. หนังสือเดินทางราชการ (๓๕๐ หยวน)
๔. หนังสือเดินทางฉุกเฉิน อายุไม่เกิน  ปี (หรือหนังสือเดินทางชั่วคราวเดิม) (๑๐๐ หยวน)

หมายเหตุ ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำขอมีหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน ๑๐ ปี จะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้วเท่านั้น

หลักฐานและเอกสารยื่นประกอบ
กรณีผู้ขอบรรลุนิติภาวะแล้ว

   - หนังสือเดินทาง (ฉบับจริง)
   - บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
   - ทะเบียนบ้าน หรือใบเปลี่ยนชื่อ (กรณีชื่อไม่ตรงกันกับหลักฐาน)
   - ใบทะเบียนสมรส/หย่า (หากมี)

กรณีขอทำหนังสือเดินทางใหม่เนื่องจากสูญหาย ต้องมีใบ Confirmation of Reporting the Loss of Passport จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ที่หนังสือเดินทางหาย

กรณีผู้ขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ
บิดามารดาและบุตรต้องมายื่นคำร้องฯ ด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เนื่องจากบิดามารดาต้องลงนามยินยอมในคำร้องขอทำหนังสือเดินทางของบุตรต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และต้องบันทึกข้อมูลชีวภาพ (สแกนลายนิ้วมือ) ของบุตรลงในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

เอกสารของบุตร
   - หนังสือเดินทาง (ฉบับจริง)
   - สูติบัตร หรือบัตรประจำตัวประชาชน
   - ทะเบียนบ้าน (หากเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว)
   - ใบเปลี่ยนชื่อ (กรณีชื่อไม่ตรงกันกับหลักฐาน)
   - หนังสือให้ความยินยอมให้ผู้เดินทางทำหนังสือเดินทางและเดินทางไปต่างประเทศได้ (คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือให้ความยินยอม)

* หากบิดา/ มารดาไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจและนำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันทำหนังสือเดินทางด้วย (คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือมอบอำนาจ) 

เอกสารของบิดาและมารดา
   - หนังสือเดินทาง (ฉบับจริง)
   - บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
   - ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
   - ใบเปลี่ยนชื่อ (กรณีชื่อไม่ตรงกันกับหลักฐาน)
   - ใบทะเบียนสมรส/หย่า (หากมี) หนังสือยินยอม (กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาลงนามยินยอมในคำร้องทำหนังสือเดินทางให้บุตรได้)

กรณีคู่สมรสเป็นชาวจีน: นำหนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรสไป แปลและรับรองที่ สำนักงาน Notary Public (公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่ และนำ 公证书ไปทำ นิติกรณ์ที่ สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/ เมืองนั้น ๆ 外交部/外事办)โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ที่เรียกว่า 双认证 (ฉบับจริง)

กรณีคู่สมรสเป็นชาติอื่น: หนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส      ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานทูต/สถานเอกอัครราชทูตฯ ของประเทศคู่สมรสซึ่งประจำประเทศจีน (ฉบับจริง)

หมายเหตุ
   - กรณีที่บุตรได้สัญชาติจีนแล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของจีนกำหนดว่าบุตรจะไม่สามารถถือสัญชาติอื่นได้ หากปรากฎหลักฐานว่ามีการถือสัญชาติอื่น อาทิ มีหนังสือเดินทางของไทย อาจถูกถอนสัญชาติจีนได้
   - กรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่มีชื่อบิดาในรายการบิดาของสูติบัตรบุตร ให้แนบใบปกครองดูแลบุตร (ป.ค.14) ซึ่งระบุยืนยันว่ามารดาเป็นผู้ปกครองดูแลแต่เพียงผู้เดียว
   - ค่าธรรมเนียมหากชำระแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
   - เจ้าหน้าที่อาจขอเรียกดูเอกสารเพิ่มเติมในบางกรณีโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า