วันที่นำเข้าข้อมูล 11 ก.พ. 2557
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565
มณฑลเสฉวน (Sichuan Province)
- ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ระหว่างลองติจูดตะวันออกที่ 97º21' - 110º21' และละติจูดเหนือที่ 26º03' - 34º19' มีพื้นที่ทั้งสิ้น 485,000 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจีน) คิดเป็น 5.1% ของพื้นที่ประเทศจีน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงและภูเขาสูงทางตะวันตกของมณฑล มีความสูงเฉลี่ย4,000เมตรเหนือระดับน้ำทะเลและลาดลงในทางตะวัน ออก ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและเนินเขา มีความสูงประมาณ 1,000-3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่มณฑลส่านซีและมณฑลกานซูเป็นมณฑลที่ไม่มีทางออกทะเล - ข้อมูลประชากร มณฑลเสฉวนมีจำนวนประชากรราว90,000,000 คน เป็นจำนวนประชากรตามสำมะโนครัว 80,418,200คน ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 20,307 หยวน (เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณ13.5%)และมีนครเฉิงตูเป็นเมืองเอกของมณฑลมีจำนวนประชากรราว 14 ล้านคน สำหรับประชากรเฉิงตูนั้น มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 27,194 หยวน (เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณ 13.6%) ประชากรประกอบด้วย
ชนชาติหลักจำนวน 15 ชนชาติ ประกอบด้วยชาวฮั่น หยี ทิเบต เย้า เฉียง ฮุย มองโกล ลีซอ แมนจู น่าซี ไป๋ ไต ปูยี แม้ว และถูเจีย โดยชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ (ชาวฮั่น 93.90% และชนกลุ่มน้อยอีก6.10%) - สภาพภูมิอากาศ ลักษณะอากาศในพื้นที่ทางด้านตะวันออกเป็นแบบเขตกึ่งร้อนชื้น ความชื้นและปริมาณน้ำฝนสูงในฤดูร้อนอากาศร้อนอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 29º เซลเซียสและในฤดูหนาวอุณหภูมิประมาณ 3º-6º เซลเซียสซึ่งช่วยให้พื้นที่ราบของมณฑลเสฉวนเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นหนึ่งในพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของจีนในด้านตะวันตกของมณฑล ซึ่งเป็นที่สูงมีลักษณะอากาศเป็นแบบที่ราบสูง (plateau climate) ความชื้นและปริมาณน้ำฝนต่ำ อากาศเย็นในฤดูหนาว - ทรัพยากรสำคัญ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจีนมาตั้งแต่อดีต สินค้าหลักประกอบด้วยข้าว ข้าวจ้าว ข้าวฟ่าง ผลไม้รสเปรี้ยว พีช น้ำตาล มันฝรั่ง โดยเป็นมณฑลหลักที่ผลิตสินค้าบริโภคของประเทศ มีแร่ธาตุประมาณ132 ชนิด มีไททาเนียมมากที่สุดในโลก แร่ vanadium มากอันดับ 3ของโลกนักวิจัยเสฉวนได้พัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำให้สามารถผลิตเมล็ดที่ให้น้ำมันได้มากถึง 65% นอกจากนี้ ผลจากการคำนวณ
|
ค่าใช้จ่าย เชื้อเพลิงผสมดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า กล่าวคือ มีต้นทุนการผลิต 540 หยวน (+10%)/ พื้นที่ 0.06 เฮคเตอร์ โดยสามารถผลิตน้ำมันได้ 100-175 กิโลกรัม โดยต้นสบู่ดำต้องใช้เวลาเพาะปลูก 5 ปีก่อนให้ผลผลิต นอกจากนี้ มณฑลเสฉวนยังอยู่ระหว่างการทดลองนำน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดสบู่ดำมาผสมกับน้ำมันดีเซล แอลกอฮอล์และสารลดการปล่อยควันเสียเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
สำหรับรถบรรทุกและรถใหญ่หรือทดแทนการใช้น้ำมันหมายเลข 0ของจีน เนื่องจาก บริเวณตะวันตกของมณฑล เช่น เมืองพานจือฮัวและเขตปกครองตนเองชนชาติหยีเหลียงซานเป็นพื้นที่ที่มีต้นสบู่ดำมาก
- แหล่งพลังงาน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบแล้วกว่า 150ล้านลูกบาศก์เมตร และเชื่อว่าน่าจะมีปริมาณสำรองการใช้ได้ถึง100 ปี เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติผู่กวง เมืองต๋าโจว ซึ่งมีปริมาณexploitable reserves จำนวน 3.56 แสนล้านคิวบิคเมตร โดยบริษัทSinopec มีแผนทำท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากผู่กวงให้กับมณฑลหูเป่ย เจียงซี อันฮุย เจียงซู เจ่อเจียง และ นครเซี่ยงไฮ้ พลังงานไฟฟ้าซึ่งใช้ในมณฑลมาจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โดยมณฑลเสฉวนถือเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 100 ล้านกิโลวัตต์ และมีปริมาณสำรองพลังน้ำ 150 ล้านกิโลวัตต์ สูงเป็นอันดับ 2 ของจีนรองจากทิเบต สำหรับแหล่งพลังงานไฟฟ้าทดแทนที่ใช้ในมณฑล ประกอบด้วย พลังงานไฟฟ้าจากมูลสัตว์ เนื่องจาก มณฑลเสฉวนเป็นแหล่งเลี้ยงสุกร/เป็ดที่สำคัญในประเทศจีน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าผลิตได้จากเสียจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยังมีปริมาณไม่ มากนัก แต่ก็สามารถใช้ได้เพียงพอในฟาร์มหรือในบ้านพัก
|
2. ข้อมูลด้านการปกครอง |
- การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง มณฑลเสฉวนแบ่งส่วนการปกครองออกเป็น 18 เมือง และ 3 เขตปกครองตนเอง ประกอบด้วย
-18 เมือง ได้แก่ นครเฉิงตู (Chengdu/ 成都) เมืองเหมียนหยาง (Mianyang/ 绵阳) เมืองเต๋อหยาง (Deyang/ 德阳) เมืองอี๋ปิน (Yibin/ 宜宾)เมืองพานจือฮัว (Panzhihua/ 攀枝花) เมืองเล่อซาน (Leshan/ 乐山) เมืองหนานชง (Nanchong/ 南充) เมืองจื้อกง (Zigong/自贡) เมืองหลูโจว (Luzhou/ 泸州)เมืองเน่ยเจียง (Neijiang (内江) เมืองกว่างหยวน (Guangyuan/ 广元) เมืองซุ่ยหนิง (Shuining/ 遂宁)เมืองจือหยาง (Ziyang/资阳) เมืองกว่างอาน (Guang'an/ 广安)เมืองหย่าอาน (Ya'an/ 雅安) เมืองเหม่ยซาน (Meishan/ 眉山)เมืองต๋าโจว (Dazhou/ 达州) และเมืองปาจง (Bazhong/ 巴中)
- 3 เขตปกครองตนเอง ได้แก่ เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต เชียง อาป้า (Aba Tibetan Qiang Autonomous Prefecture/ 阿坝藏族羌族自治州) เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตกานจือ (Ganzi Tibetan Autonomous Prefecture/甘孜藏族自治州) และเขตปกครองตนเองชนชาติอี๋เหลียงซาน (Liangshan Yi Autonomous Prefecture/ 凉山彝族自治州)
ผู้บริหารฝ่ายการเมือง |
|||
เลขาธิการพรรคฯ, ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นายหวัง ตงหมิง (Wang Dong Ming) |
ผู้ว่าการมณฑลเสฉวน นายเว่ย หง (Wei Hong) |
ปธ.สภาที่ปรึกษาทางการเมือง นาย หลี่ ชงสี่ (Li Chong Xi) |
|