วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ส.ค. 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 ส.ค. 2566
การแจ้งเกิด
ถึงแม้บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดา ก็มีสิทธิและหน้าที่ในการแจ้งเกิดบุตร
1. เอกสารของบิดาและมารดาสัญชาติไทย
* กรณีทะเบียนสมรสจีน: นำหนังสือรับรองสถานภาพสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรสไป แปลและรับรองที่ สำนักงาน Notary Public (公证处) ในมณฑล/เมืองที่อยู่ และนำ 公证书ไปทำนิติกรณ์ที่สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/ เมืองนั้น ๆ (外交部/外事办) โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ที่เรียกว่า 泰国双认证 (ฉบับจริง)
2. เอกสารประจำตัวบุตร
- ต้นฉบับใบรับรองเกิดที่ออกโดยโรงพยาบาลนำเอกสารดังกล่าวไปแปลและรับรองที่ สำนักงาน Notary Public (公证处) ในมณฑล/ เมืองที่อยู่ และนำ 公证书 ไปทำนิติกรณ์ที่สำนักงานต่างประเทศของแต่ละมณฑล/ เมืองนั้น ๆ (外交部/外事办) โดยขอยื่นทำนิติกรณ์ที่เรียกว่า 泰国双认证 (ฉบับจริง)
3. เอกสารของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นคนจีนหรือชาติอื่นๆ
- หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่รถยนต์
หมายเหตุ
- กรณีบิดามารดาจดทะเบียนสมรส
- กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
- กรณีบิดามารดาหย่าร้าง
เอกสารที่ต้องใช้เพิ่มเติม
- การเพิ่มชื่อบุตรในทะเบียนบ้านไทย
- สัญชาติ
แนวทางการพิจารณาได้สัญชาติไทยกรณีบุคคลเกิดนอกราชอาณาจักร
สัญชาติบิดา |
สัญชาติมารดา |
สถานภาพการสมรส |
สัญชาติบุตร |
ไทย |
ไทย |
จด |
ไทย |
ไทย |
ไทย |
ไม่จด |
ไทย |
ไทย |
อื่นๆ |
จด |
ไทย |
ไทย |
อื่นๆ |
ไม่จด |
ไม่ได้สัญชาติไทย |
อื่นๆ |
ไทย |
จด |
ไทย |
อื่นๆ |
ไทย |
ไม่จด |
ไทย |
- เด็กสามารถถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุ 20 ปี จากนั้นต้องเลือกถือสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ในกรณีที่สละสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยด้วย หากอายุยังไม่ถึง 20 ปี ยังไม่สามารถยื่นคำร้องขอสละสัญชาติได้ ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาไม่สามารถยื่นขอสละสัญชาติแทนบุตรได้ เนื่องจาก การสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้ อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายจีนไม่อนุญาตให้มีการถือสองสัญชาติ ควรหารือกับหน่วยงานในท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว